ชีวิต Slow life หมู่บ้านบางพลับ ด้วยเงิน 300 บาท

ชีวิต Slow life หมู่บ้านบางพลับ ด้วยเงิน 300 บาท

:: ปรัชญาชาวบ้านบอกว่า… รุ่นเรามันพวก Gen-Y ทำงานที่แรกส่วนใหญ่ได้ไม่เกิน 3 ปี ยอมรับเงินเดือนที่ตัวเองได้ไม่ได้ อยากได้เงินมากกว่านั้น หันมาทำธุรกิจส่วนตัวกันส่วนใหญ่ เพราะหวังว่าคงจะมีกำไรมากกว่าเงินเดือนที่เคยได้ เอะอะอะไรเปิดร้านนม ขนม กาแฟ หรือช่วงนี้ธุรกิจออนไลน์ hot มากๆ พอคนมันมาทางนี้กันหมด กลายเป็นว่า คนขาย มากกว่าซื้อ ธรรมชาติไม่สมดุล การลาออกจึงไม่ได้ช่วยอะไรอย่างแท้จริง น้อยคนนักที่จะประสบความสำเร็จ และน้อยคนนัก ที่จะเห็นค่า ว่าเกษตรกรรม คือประติมากรรมที่น่าสนใจ นักศึกษาที่ต้องทำโปรเจคจบ มาขออยู่กินกับเค้า ได้เรียน ได้รู้ ได้อยู่กับชาวบ้านจริงๆ สุดท้ายได้เห็นอะไรที่แปลกไป สิ่งล้ำค่าที่แปลกใหม่ ที่ใครๆ ก็ลืมมันไปแลัว นั่นสินะ… ใครจะไปคิดครับ ว่าลุงที่ปั่นจักรยานข้างถนนอยู่ตามบ้านนอก จะมีรายได้เดือนละแสน พวกเราเองนี่แหละ ที่ไม่รู้จักพอ กระดิกชีวิตตามวิถีสังคมจอมปลอมกันมานานแค่ไหน เค้ามี เราต้องมี เค้าได้ เราต้องได้ ใช้ชีวิตแบบนี้มาตั้งแต่เกิด จนสะกดคำว่า “พอ” ไม่ค่อยเป็น มันแปลกที่ผมชอบเขียนบทความเสียดสี แต่มันดีตรงที่ได้สะกิดใจตัวเองนี่แหละ แล้วคุณหละ คิดว่าจริงมั้ย?

:: กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมของ สสส. ภายใต้ชื่อของ SOOK TRAVEL จะเป็น event ที่เปิดรับคนทั่วไป ไปเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดต่างๆ ที่มีของดี และมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งทาง สสส. เค้าก็ได้ทำตารางกิจกรรมออกมาได้อย่างน่าสนใจมากๆ (รูปข้างบน)

:: เผอิญว่าเดือนกรกฏาคมว่างพอดี ก็เลยขอเสียบทริปในช่วงเดือนนี้ไปด้วยเลย นั่นก็คือ “ทัวร์หมู่บ้านบางพลับ”:: เพื่อนๆ สามารถเข้าไปส่อง ทริปต่อๆ ไปได้ที่ http://goo.gl/R6epBE รวมถึงส่งใบสมัครด้วย ทาง Sook travel Team เค้าจะนัดให้เรามาเจอกันที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อนสามารถเอาไปเซิร์ชใน google map ได้เลย ไปถึงเค้าก็จะให้เราลงทะเบียนตามปกติ มีอาหารว่างให้ในช่วงเช้า แล้วก็เมื่อถึงเวลาตามกำหนด ก็ขึ้นบัสไปยังสถานที่ของเราในวันนั้นเลย หรือเพื่อนๆ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 095 – 569 – 1231  ซึ่งในตารางกิจกรรมของผมในทริปนี้ มีประมาณนี้ครับ

07.00 – 07.30 : ลงทะเลียนที่ชั้น 1 ศูนย์เรียนรู้สขุภาวะ
07.30 – 09.30 : เดินทางสู่ “บ้านบางพลับ”
09.30 – 10.00 : ฟังบรรยายประวัติ ความเป็นมาของชุมชน
10.00 – 12.00 : สนุกกับการปั่นจักรยานเรียนรู้และลงมือทำ “น้ำตาลมะพร้าว” และ “ผลไม้กลับชาติ”
12.00 – 13.00 : รับประทานอาหารกลางวันที่ทางหมู่บ้านเตรียมไว้ให้
13.00 – 15.00 : สนุกกับการปั่นจักรยานเรียนรู้ลงมือทำ “ถ่านผลไม้” และ “สวนส้มปลอดสารพิษ”
15.30 – 16.00 : สรุปกิจกรรม และเดินทางกลับบ้าน

:: เป็นไงบ้างครับ ฟังดูกิจกรรมแล้วน่าสนใจมั้ย สำหรับผม เป็นการใช้เวลาที่คุ้มค่ามากๆ สำหรับ 1 วันในวันนั้น เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้วิถีชาวบ้านแล้ว เรายังได้ลองทำในสิ่งที่ชาวบ้านเค้าทำกันด้วย อาจจะไม่ได้นอนค้างคืน แต่ก็เข้าถึงได้พอสมควร และมากไปกว่านั้น ใกล้กรุงเทพนิดเดียว

:: ค่อนค้างจะตามเวลามากๆ หลังจากที่ล้อหมุนจาก สสส. ก็มาถึงหมู่บ้านบางพลับตามเวลาเป๊ะ เราเข้าไปในห้องที่ถูกจัดเตรียมไว้ เพื่อฟังบรรยายจากหัวหน้าโครงการ แกพูดดีและสอนดีมากเลยนะ ถ้าจะให้เล่ามันยาวมาก เอาเป็นว่า ได้มาแลกเปลี่ยนความคิดกันระหว่างมุมเค้ามุมเรา ทุกที่แม่มมีดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองเห็นมันรึป่าว และสิ่งสำคัญที่สุด หมู่บ้านที่นี่ ยึดหลักการใช้ชีวิต ตามพระราชดำริของในหลวงแทบจะทุกหลัง เลยกลายให้คนในหมู่บ้าน ช่วยกันทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่โด่งดังพอสมควร ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ต่างประเทศก็สนใจเข้ามาดูงานเหมือนกัน:: แล้วก็มาถึงกิจกรรมแรก คือการทำตาลน้ำมะพร้าว อาจารย์เค้าจะสอนเราตั้งแต่วิธีเริ่มแรกจนวิธีสุดท้ายที่ออกาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เอามาขายกันเลยหละ ไม่มีหวงสูตร หรือปิดบังอะไรทั้งนั้น แกบอกหมดเลย ถ้าจะให้มาบอกวิธีทำ ก็เกรงว่าจะละเอียดไป หากใครสนใจคงต้องติดต่อทางหมู่บ้านกันเอง ส่วนของผมทางนี้ จะขอเล่าเรื่องด้วยภาพกิจกรรมแต่พอสังเขปแล้วกัน มาเริ่มกันเลย สำหรับการทำน้ำตาลมะพร้าว:: สิ่งแรกหลังจากได้น้ำตาลมะพร้าวมาคือการเคี่ยว เคี่ยวจนมันเกิดฟอง แล้วสังเกตุ หากกำลังจะเปลี่ยนสีเป็นสีแดงให้เบาไฟ แล้วยกกระทะออกจากเตา แล้วมาเคี่ยวต่อ ทำให้ความร้อนมันระเหยออกจากน้ำตาลมะพร้าวราวๆ 15 นาที

:: จากนั้น ก็ใช้ช้อนตักน้ำตาลมะพร้าว มาหยอดใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ ตามที่เราต้องการ แล้วทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที เราก็จะได้น้ำตาลมะพร้าวที่ดูน่ากิจ แถมรสชาติเรียกได้ว่าคูลสุดๆ ไม่มีอะไรเจือปนทั้งนั้น มีแต่กลิ่นของธรรมชาติ กับรสชาติของธรรมชาติเท่านั้น

ตัวอย่างการทำน้ำตาลมะพร้าว

:: แผนถูกเปลี่ยนิดหน่อย โดยทางทีมงานอยากให้เราได้เห็นสภาพวิถีชุมชนมากขึ้น ใช้ชีวิตช้าลงโดยการเดินดูชุมชนหมู่บ้านบางพลับ ระหว่างทางเดินหรือทางจักรยาน ก็จะมีจุดจอดเป็นสัญลักษณ์บอกว่า ที่นี่แหละ คือที่ที่เราจะเข้ามาเก็บความรู้ และเรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนที่นี่:: ตรงนี้จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลาะคลองขนานข้างต้นไม้ อาจารย์แกให้ความรู้ดีมากเลยนะ มีเหตุ มีผล ธรรมชาติมันตอบโจทย์ของมันเองได้อย่างสมบูรณ์ทีเดียว:: แกเล่าคร่าวๆ ว่า เหตุที่ปลูกมะพร้าวแทรกกับต้นไม้ก็เพราะว่า ที่ตรงนี้เป็นดินเหนียวมากก่อน รากมะพร้าวมันเป็นฝอย มันจะไปทลายดินเหนียวให้กลายเป็นดินร่วน ความรู้ของแกในบ้างครั้งดูเหมือนจขะเป็นอะไรที่พื้นๆ มาก แต่มันไม่ธรรมดาเลยนะ เพราะบางที คนเมืองหลายคนก็ไม่เคยรู้มาก่อนเหมือนกัน

:: กลิ่นควันรถ กลิ่นอะไรเสียๆ ที่เคยดม ผมนิลืมไปเลย เพราะที่นี่ธรรมชาติโคตรๆ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรเป็นหลักครับ แล้วมันสามารถสร้างรายได้ให้คนที่นี่จริงๆ ถ้าชุมชนเหล่านั้น แข็งแกร่งและสามัคคีกัน ซึ่งหมู่บ้านบางพลี ก็พิสูจน์ให้ผมเห็นแล้ว ว่าแม่มทำได้จริง

:: ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว บนโต๊ะมีอาหารที่ทางทีมงานเตรียมไว้ให้เราทานกันอย่างเยอะแยะเต็มไปหมด ที่นี่อยู่ใกล้แม่กลอง สิ่งที่ขาดไม่ได้คือปลาทู และมันก็มาจริงๆ อร่อยสมชื่อ เสียเงิน 300 บาท ได้มากินแค่มื้อนี้ ผมคิดเล่นๆ ยังไงก็คุ้ม ๕๕ เอาหละ เติมพลัง ก่อนที่จะถึงกิจกรรมในช่วงบ่ายกัน

:: เอาหล่ะ คราวนี้ก็ต้องเคลื่อนที่กันหน่อย ด้วยจักรยานที่ทาง สสส. เค้าเตรียมมาไว้ให้เรา เชื่อมั้ยว่า จักรยานมีเยอะมาก ตอนแรกก็คิดนะ ว่าจะเอาจักรยานที่ไหนมารองรับพวกเราในจำนวนคนที่เยอะขนาดนี้ แต่ที่นี่แม่มไม่ธรรมดาจริงๆ ครับ ททท. ก็เข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมอีก เรียกได้ว่า เค้าดังมาตั้งนานแล้ว แต่ทำไมเราเพิ่งมารู้นักวะ ๕๕๕:: ทีมงานเค้าจัดให้เราปั่นไป 3 สถานี มีผลไม้คืนชีพ ถ่ายผลไม้ และก็สวนส้นไร้สารพิษ และที่แรกที่เราปั่นจั๊กไปคือ ผลไม้คืนชีพ ที่นี่จะเป็นการนำผลไม้ทีถูกคัดเกรดตกต่ำมาระดับหนึ่ง เอามาคืนชีพให้มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำเป็นเล่นไปครับ อิมะละกอที่พี่เค้าทำอยู่ จากปกติลุกละไม่กี่บาท โลไม่กี่บาท พอทำเป็นผลไม้คืนชีพ มีราคาถึงกิโลละ 300 บาทเลยนะ ผมละทึ่งเค้าจริงๆ

:: คือไม่ใช่แค่ผลไม้นะ ผัก พืช หรือสมุนไพร ก็ถูกมาชุบชีวิต ทำให้มีรสชาติหวานขึ้น ด้วยกระบวนการที่พิถีพิถันมากๆ ผมฟังแกเล่าคร่าวๆ แล้วก็แบบ ป้าสุดยอดมากครับ เพราะกว่าจะได้ ผลไม้ชุบชีวิตมาแต่ละอย่าง จะต้องใช้เวลาราวๆ 1 อาทิตย์ครับ

:: เผื่อใครสนใจ ผมจะเล่ากระบวนการมาตรฐานคร่าวๆ ของการทำผลไม้คืนชีพให้ฟัง มันจะเป็นประมาณนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกปลอกเปลือกออก แล้วเอาไปแช่กับน้ำปูนขาว ถึงจุดนั้นซักพัก ก็เอาไปต้นจนสุก แล้วรอให้มันเย็นลง จากนั้นก็เอามาแช่กับน้ำเชื่อมในอัตรา ผลไม้ 1 kg/น้ำเชื่อม 2 kg ครับ ก็แช่มันไปทั้งคืน อย่างมะละกอต้องทำแบบนี้ถึง 7 ครั้งครับ ถึงจะได้ ผลไม้ที่มีรสชาติอมหวานมันอร่อยขนาดนี้ เป็นไงหล่ะ จะบอกว่าอร่อยมั๊ก > <

:: สถานนีต่อไปคือ “ถ่านผลไม้” ให้ตายเถอะ เอาผลไม้มาทำเป็นถ่าย ฟังดูตลกนะครับ ตอนแรกผมก็ตลกเหมือนกัน แม่แม่มเอ้ยยยยย ไอ่เจ้าผลิตภัณฑ์ตัวนี้นี่แหละ ที่มันขายได้หลายอย่างในตัวมันเองเลย เด่วเล่าให้ฟัง:: วิทยาการฐานนี้ตลกมาก มาถึงแกก็จะเล่าประวัติความเป็นมาของแกแบบฮาๆ ตามประสาแก แต่บทสรุปสำคัญมันอยู่ตรงนี้ ถ่านผลไม้ ได้มาค่อนข้างง่าย ถ้ารู้จักวิธีทำ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงเท่านั้น แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ ระหว่างกระบวนการทำถ่ายผลไม้นั้น เราจะได้ผลิตภัณฑ์เพิ่มมาอีก 4 – 5 อย่างเลย

มาลิสต์กันคร่าวๆ ม๊ะ ถ้าไม่ลืมก็จะมี1. ถ่านปกติ ที่ได้จากการเผาถ่านผลไม้
2. ขี้เถ้า เอาไปใช้เป็นน้ำล้างผลไม้โดยการปล่อยให้ตกตะกอนแล้วเอาน้ำข้างบนมาล่างผักผลไม้ แกบอกว่า เป็นเบสดีมาก ช่วยในการชำระล้างสารเคมี และก็เอาไปทำไข่เค็มได้ด้วยอีกนะ
3. น้ำมันผลไม้ น้ำมันผลไม้เกิดจาก ไอน้ำที่มันระเหยออกไปด้านนอก แล้วพอมันเจอกับอากาศข้างนอก เกิดการกลั่นตัวแล้วหยดลงมาเป็นน้ำมัน เราก็เอาภาชนะไปรองไว้ ซึ่งเจ้าตัวนี้ สามารถขายได้ลิตรละ 100 บาทเฉยๆ เลย เห็นมะ สร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉย
4. บริเวณเตา พอถึงจุดหนึ่งจะมีความร้อนมาก แกก็ใช้จังหวะนั้นแหละ เอากระทะไปวางไว้ คั่วผัก คั่วพริก ทำไข่เจียว ลดการใช้พลังงานธรรมชาติได้เฉยเลย
5 สุดท้าย ถ่านผลไม้ ที่ขายได้ในราคาเริ่มต้นที่ ลุกละ 30 บาท โอ้วมายกอดดดดดดดดดด ส่วนใหญ่เค้าซื้อไปดุดกลิ่นอับในรถ หรือตู้เสื้อผ้า

:: อันนี้เป็นตัวอย่างจำลองที่แกทำไว้ใช้ประการสอน วิธีทำค่อนข้างง่ายมาก ก็ทำเตาขึ้นมาอันหนึ่ง เอาฟินวางรอบๆ ให้เกิดความร้อน เคล็ดลับสำคัญมันอยู่ตรงนี้ ตรงที่เอาปี๊บหรือภาชนะมาใส่ผลไม้ก่อน แล้วค่อยเอาไปอบ ซึ่งมีมีช่องว่างเกิดขึ้นไม่ให้ไฟกับผลไม้สัมผัสกันโดยตรง แล้วบริเวณช่องว่างนี่เอง ที่จะทำให้ผลไม้ถูกดูดน้ำออกจากตัวของมันจนหมด แล้วเชื่อมั้ย เงาะแม่ม ยังทำได้เลย

:: แกบอกว่า ช่วงวาเลนไทน์ ขายดีมาก คนเอาดอกกุหลาบมาให้ทำ และมันก็ทำได้จริงๆ ครับ เออ พูดถึง คนคงสงสัยว่าตอนสัมผัสมันจะเป็นยังไง อารมณ์ประมาณนี้เลย เคยจับถ่านปกติมั้ย มันจะเบาๆ อะ และดูเหมือนมันสามารถแตกหักง่าย ซึ่งถ่านผลไม้ก็เหมือนกัน แม่มทำได้ไงวะ เก่งจริงๆ  และนี่ก็เป็นภาพตัวอย่าง ถ่านผลไม้ที่แกทำไว้ให้พวกเราได้ดูกันครับ เชดแหม่ ทะเรียน ขนุน ลำยงลำไย แกใส่หมด ๕๕๕

:: ปั่นๆๆๆ ปั่นจนมาถึงสถานีสุดท้าย “ส้มโอไร้สารพิษ” ตรงนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการดีๆ ที่นี่เลยครับ ทำให้ชาวบ้านสร้างรายได้ได้เยอะเลย แกมีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับส้มโอเต็มไปหมด สิ่งแรกที่ได้สัมผัสคือ ความหอมของดอกส้มโอ… >///<:: เราจอดจักรยาน แล้วเดินเท้าเข้าไปไมีกี่สิบเมตร ก็เจอดงส้มโอที่เยอะจนแทบมองไม่เห็นวิวข้างนอกเลย ช่วงที่เราไป ส้มโอยังไม่เป็นผลครับ ดอกกำลังขึ้น ซึ่งทำให้กลิ่มของบรรยากาศที่นั้น อบอวลไปหมด เรียกได้ว่าหอมมากๆ อาจารย์แกอธิบาย เทคนิคหลายอย่างของการปลูกส้มโอ แต่รู้มั้ย… เทคนิคที่ผมชอบมากที่สุดคืออะไร มันคือ การแกล้งธรรมชาติ!!!:: การแกล้งธรรมชาติ คืออะไรหรอ มันเป็นแบบนี้ครับ ช่วงแรกๆ ตอนที่แกเริ่มปลูกส้มโอ แกพยายามสังเกตุ ว่าส้มโอมันจะออกดอกตอนไหน เป็นผลตอนไหน และนั่นก็ทำให้แกเห็นว่า หลังจากฤดูแล้ง ส้มโอถึงจะออกดอก แล้วแกก็สังเกตุไปต่อ ว่าหลังออกออก อีกกี่เดือนจะเป็นผลทานได้ แกก็ได้ตัวเลขมาที่ 8 เดือน รู้แล้วยังไงครับที่นี่ แกก็เลยบอกว่า เออ เมิงจะออกตอนที่เมิงไม่มีน้ำใช่มั้ย เมิงจะออกหลังจากที่ฝนตกเทฮ่าใหญ่ลงมาใช่มั้ย คราวนี้แกก็แกล้งโดยใช้วิธีการ ไม่รดน้ำต้นไม้ เอาจนมันเกือบตาย ตายน้ำจนใบแห้ง แล้วหลังจากนั้นก็แกล้องอีกรอบ โดยการรดน้ำมันทุกวัน เอาให้เหมือนฝนตกฮ่าใหญ่เลย สุดท้าย บทพิสูจน์ของแกเป็นจริงครับ สัส! พิมพ์แล้วขนก็ลุก

:: แต่หลายคนยังไง รู้แล้วไงต่อ ก็พอเรารู้ว่า ว่าวัฏจักรมันจะเป็นแบบนี้ เราก็สามารถแกล้งให้มันออกลูกได้ตอนไหนก็ได้ และคนฉลาดอย่างแก ก็เลยวางแผนให้มันออกทุกฤดูกาลไปเลย ทั้งสงกรานต์ ปีใหม่ เข้าพรรษา โหหหหหห รับไปดิทรัพย์อะ ใครว่าเกษตรกรจน ผมเถียงขาดใจ ๕๕๕ จริงๆ มันมีเรื่องราวเยอะแยะกว่านี้อีกครับ แต่ผมคงเอามาเล่าไม่หมดหรอก เพื่อนๆ ต้องไปสัมผัสด้วยตัวเอง

:: สำหรับผม Day trip ครั้งนี้เป็นอะไรที่ Slow Life โคตรๆ ครับ ได้เรียนรู้อะไรที่แปลกใหม่ เห็นอะไรที่คนเก่าคนแก่เค้าคิดและรักษามันไว้ เพื่อเผยแพร่สู่รุ่นลุกหลานเหลน หลายอย่างมันทำให้เราดึงสติตัวเอง แล้วกลับมาคิดว่า วันๆ เราทำอะไรอยู่วะ หมู่บ้านที่นี่แข็งแกร่ง และมีความสามัคคีแค่แน่นมาก ร่วมด้วยช่วยกันจนทำให้ตัวหมู่บ้านเกิดมูลค่า และสร้างรายได้กระจายสู่ทั่วทุกหลังคาเรือน มันทำให้เราได้เห็นถึงชีวิตอีกมุมหนึ่งที่จะหายไปจากสังคมไทยแล้ว แล้วถ้าใครเถียงว่าเกษตรกรเป็นอาชีพชั้นต่ำ ผมขอเถียงสุดใจ เชดแหม่… เมิงรู้ม้ายยย เค้าได้กันเดือนละหมื่นเดือนละแสนเลยนะเฟร้ายยยยย ๕๕๕ เอาหละ ยังไงต้องขอขอบคุณ สสส. มากครับ ที่จัดกิจกรรมแบบนี้ มาให้พวกเราได้ไปใช้ชีวิตชิคๆ กัน และก็ที่จะลืมไม่ได้เลย คือเพื่อนระหว่างทาง ที่เจอกันในกิจกรรมนี้ หวังว่าจะได้เที่ยวด้วยกันอีกครับ แล้วเจอกันครับ

Leave a Reply

*