ประสบการณ์การเดินทาง..ความเหมือนหรือความต่างของสองแหล่งวัฒนธรรมระหว่างไทยลาว

หลายคนมักเคยได้ยินประโยดที่ว่า…ไทยกับลาว เป็นบ้านพี่เมืองน้องกัน

บทความต่อจากนี่เป็นประสบการ์และความคิดเห็นส่วนตัวที่เราได้จากการเดินทาง ซึ่งหลายอย่างที่เราได้ไปเห็นไปพบเจอมา ทำให้เรารู้ว่าคำพูดนี้มีเค้าความจริงอยู่ไม่น้อย สิ่งหนึ่งที่ทำให้ไทยกับลาวมีความเหมือนกัน คือ ประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันมากกว่ากว่าหลายร้อยปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดการผสมผสานหลายอย่าง เช่น อาหาร ภาษาและวัฒนธรรม

ประเด็นแรกที่ ยกตัวอย่างได้ดีและเห็นชัดเจน คือ ศาสนา

พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยและลาว ล้วนนับถือ ดังนั้นประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา ลัทธิความเชื่อต่างๆก็จะคล้ายคลึงกับคนไทย  เช่น การทำบุญตักบาตร การสวดมนตร์ไหว้พระ

ถ้าเราตื่นมาตอนเช้าที่หลวงพระบาง เราจะเห็นชาวบ้านหรือผู้เฒ่าผู้แก่มานั่งรอพร้อมกับกระติ๊บข้าวเหนียวน้อยๆใหญ่ๆขนาดต่างกันไปของแต่ละคน การตักบาตรข้าวเหนียวในตอนเช้าที่ริมทางเดิน คล้ายกับทางภาคอีสานหรือภาคเหนือก็จะมีการใช้ข้าวเหนียวในการตักบาตร

ประเด็นที่สอง คือ เรื่องของภาษาในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน ยกตัวอย่างสำหรับนักเดินทางมือใหม่ที่อยากจะไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ไม่เก่งภาษาและไม่อยากเสียค่าใช้จ่ายมากมาย คนส่วนมากเลือกการเดินทางมาประเทศลาวเป็นประเทศเริ่มต้น ที่เมืองลาวเราพูดภาษาไทย เจ้าบ้านพูดภาษาลาว เราก็สื่อสารกันได้เข้าใจโดยง่าย มีความคล้ายของภาษาแต่ไม่คล้ายในสำเนียง ส่วนถ้าพูดถึงภาษาเขียน อาจจะอ่านากแต่อ่านได้ ตัวหนังสือของลาวจะมีความคล้ายคลึงกับตัวหนังสือสมัยพ่อขุนรามและตัวหนังสือของชาวล้านนา(ภาคเหนือของไทยในอดีต)

ประเด็นที่สาม คือ อาหารการกิน การทานข้าวเหนียว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมการกินของไทยอยู่ไม่น้อย หรือแม้กระทั่งการวิธีการทำอาหารหรือเมนูอาหารก็มีความเหมือนกับไทย อย่างเช่น การย่างเนื้อ หมู ปลา หรือการทำส้มตำ ซึ่งเป็นอาหารที่มีรสชาติจัดจ้านเป็นที่ชื่นชอบของทั้งคนไทยและคนลาวอยู่ไม่น้อย


แต่ในความเหมือนนั้นมีความต่าง เนื่องจากเรื่องราวในอดีตของเมืองลาวนั้น เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส จึงทำให้อาหารบางอย่างนั้นมีความเป็นฝรั่งเศสที่ผสมกับความเป็นเมืองล่างได้อย่างลงตัว วัฒนธรรมที่ฝรั่งเศสทิ้งไว้ให้ หลังจากที่มาครอบครองอยู่หลายสิบปีไม่ใช่มีแค่ตึกรามบ้านช่อง แต่หมายความรวมไปถึงสไตล์การใช้ชีวิตบางอย่างและอาหารการกินบางชนิดที่ถูกคนลาวดัดแปลงให้เข้ากันได้อย่างน่าทึ่ง ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า บาแกตต์ (Baquette) แบบลาวคงจะเหมือนกับ “ขนมฝรั่งกุฏีจีน” ที่คนไทยสมัยกรุงธนบุรีดัดแปลงมาจากขนมฝรั่งของชาวโปรตุเกสนั่นหล่ะ

ประเด็นที่สี่ คือ ประเพณีและพิธีกรรม ไทยและลาวมีรากฐานการนับถือพระพุทธศาสนา ดังนั้นประเพณีและพิธีกรรมต่างๆก็จะคล้ายคลึงกับของไทย เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ เวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนา ประเพณีเข้าพรรษา ส่วนประเพณีอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาก็จะมีประเพณีหลายอย่างคล้ายกับไทย  เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง งานแข่งเรือ แต่รายละเอียดของการจัดพิธีก็จะแตกต่างกันออกไป

ประเด็นที่ห้า คือเรื่องของการแต่งกาย ถ้าไม่นับชุดพื้นเมืองและชุดประจำชาติแล้ว  จะแต่งกายไม่แตกต่างกัน คือ ผู้ชายสวมเสื้อและกางเกง ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อ กางเกงหรือกระโปรง แต่ในบางภูมิภาคไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือหรืออีสานยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่ยังคงสวมใส่ผ้าซิ่นกันหรือใส่เสื้อผ้าที่เป็นผ้าทอมือจากพื้นบ้านกันอยู่ เพียงแต่ลายละเอียดของลายเนื้อผ้าหรือผาซิ่นจะแตกต่างกันออกไป จึงถือได้ว่าไทยกับลาวมีการแต่งกายที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

ประเด็นที่หก ที่อยู่อาศัย ลาวและไทยเป็ฯประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนเหมือนกัน ภูมิประเทศและภูมิอากาศก็ไม่ต่างกันมากนัก ลักษณะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่จึงมีความคล้ายกันกับบ้านไทยในสมัยก่อน ซึ่งปัจจับันก็ยังมีให้เห็นกันอยู่ คือใช้วัสดุที่เป็นไม้สร้างบ้านยกพื้นให้สูงขึ้นจากพื้นดิน พื้นบ้านปูด้วยไม้กระดาน ฝาบ้านใช้ไม้กระดานตีสูงขึ้น และมีช่องลมเพื่อระบายอากาศในบ้าน ส่วนหลังคามีความลาดชัน และมีชายคายื่นออกมาเพื่อป้องกันแดดฝนได้ดี บ้านเรือนส่วนใหญ่จึงมีลักษณะสูงโปร่ง มีหน้าต่างหลายบาน ส่วนใต้ถุนบ้านก็จะใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น เป็นที่เก็บวัสดุอุปกรณ์ หรือเลี้ยงสัตว์

และ…

ประเด็นที่เจ็ดสุดท้าย รอยยิ้มและน้ำใจ

เป็นที่รู้กันดีในหลากหลายประเทศทั่วโลกว่าเมืองไทยเป็นเมืองแห่งรอยยิ้มและความมีน้ำใจ เมืองลาวก็เช่นกัน ความรู้สึกตอนที่ไปเที่ยวลาวเจอรอยยิ้มและน้ำใจของคนลาวทำให้เรารู้สึกว่าอบอุ่นไม่ต่างจากอยู่เมืองไทยเลยหล่ะ

Leave a Reply

*