16 Highlights ประทับใจ สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง ที่ต้องห้ามพลาด [ Local People Brought Me Here ]

สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนเลย ผมชื่อไมนะครับ ซึ่งในบทความนี้จะแทนตัวเองว่าไมตลอด กลัวคนอ่านจะสับสนกับคำว่า ” ไม่ ” เดี๋ยวหาว่าพิมพ์ตก นั่นแหละครับ วีคที่ผ่านมาไมมีโอกาส แหนะ… เชื่อว่าบางคนต้องอ่านว่า ” ไม่มีโอกาส ” แน่ ๆ นั่นแหล ะไมมีโอกาสได้ไปทัวร์พัทลุงแบบคนโลคอลกับน้อง ๆ ที่นี่ ซึ่งตลอดเวลา 2 วัน 1 คืนที่มาอยู่ที่นี่ ขอบอกก่อนเลยว่ายับมาก ๆ แต่ก็ไม่พลาดที่จะสรุป 16 Highlight ประทับใจ สถานที่ท่องเที่ยวมาให้เพื่อน ๆ ได้ปักหมุดจุดที่สนใจเพื่อตามรอยทริปนี้แน่นอน

ซึ่งก็อย่างที่เกริ่นไว้เลยว่า ทริปนี้จะออกแนวท่องเที่ยวชุมชนหน่อย ๆ เป็นการเที่ยวแบบให้กำลังใจชุมชน ให้คนในพื้นที่ได้มีกำลังใจ เกิดการหมุนเปลี่ยนการเงินที่สะพัดเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนนั้น ๆ มากขึ้น และหากใครที่จะตามรอย 16 Highlight สถานที่ท่องเที่ยวแนวชุมชนในบทนี้ละก็ เตรียมท้องว่าง ๆ ไว้ได้เลยนะ เพราะของกินจุกจิกจะมีอยู่ทุกจุด Check in เลย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไป Highlight แรกกันเลย

1. ควายน้ำ

Location: อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93150

โห… เห็นครั้งแรกต้องสะดุดเลย ควายที่นี่เลี้ยงกันมานับร้อย ๆ ปี คนไทยส่วนใหญ่แทบไม่รู้จักควายพันธุ์นี้ แต่หลังจากสร้างสะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เชื่อมจากพัทลุงไปสงขลา หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าสะพานเอกชัย คนผ่านไปมามากขึ้น เห็นตัวดำ ๆ เขางามตาหวาน อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ ว่ายดำผุดดำว่ายอยู่กลางบึง โผล่ขึ้นเหนือน้ำ ในปากจะเต็มไปด้วยหญ้ากระจูดหนู หรือหญ้าข้าวผี เต็มปาก…ควายน้ำเลยเริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนนับตั้งแต่นั้นมา

คือด้วยพฤติกรรมที่ต่างจากฝูงสัตว์ชนิดอื่นที่มีตัวผู้เป็นจ่าฝูง ควายน้ำ ทะเลน้อยจะมีตัวเมียเป็นหัวหน้าฝูง ชาวบ้านเรียกขานให้เป็น ‘แม่โยชน์’ จะทำหน้าที่นำทาง เฝ้าระวังภัย ช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตในน้ำ ลูกควายและตัวที่อ่อนแอ จะอยู่รวมกันกลางฝูง ตัวที่แข็งแรงจะล้อมป้องกันภัย บริเวณไหนน้ำลึก ลูกควายจะเอาปากเกยเกาะบั้นท้ายแม่ไปตลอดทาง

การเลี้ยงถูกปล่อยอิสระ ไม่มีการสนตะพายจมูก ควายตัวผู้จึงมักหนีไปฝูงอื่นแต่กว่าจะเข้าฝูงใหม่ได้ต้องชนะใจควายตัวเมีย กว่าจะกลับเข้าฝูงได้ บางครั้งตัวผู้ต้องใช้เวลาเดินตามตื๊อรอบ ๆ ฝูงนานเป็นเดือนแหนะ ซึ่งวิวที่เราเห็นจากระยะไกล คือสวยมาก เหมือนไปแอฟริกาเลย แต่ช่วงที่เราไปเป็นช่วงน้ำลดล่ะ เลยไม่เห็นควายอยู่ในน้ำ ถ้าเป็นช่วงน้ำขึ้นนะ คงได้เห็นควายน้ำ ตามชื่อสมใจ และข่าวดีคือ หลายฝ่ายพยายามจะทำให้สถานที่แห่งนี้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกเกษตรโลก (GIASH : Globally Important Agricultural Heritage Systems) ให้ได้ภายในปีนี้ เพราะไม่มีอะไรแบบนี้ในประเทศอื่นเลย มีแค่ในไทยเท่านั้น

2. ทะเลบัว (ทะเลน้อย)

Location: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ที่นี่คือทะเลสาบน้ำจืด ที่ตั้งอยู่ใน ตำบลนางตุง และ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีคลองนางเรียมยาว 2 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างทะเลน้อยกับทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อยได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย แต่ประชาชนมักเรียก กันว่า “อุทยานนกน้ำทะเลน้อย” ซึ่งนับเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแห่งแรกของประเทศไทยเลยล่ะ และด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลน้อย ทำให้พื้นที่ “พรุควนขี้เสี้ยน” ของทะเลน้อยได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “แรมซาร์ ไซด์” (Ramsar Site) แห่งแรกในเมืองไทยนั่นเอง

ซึ่งจุดเด่นของที่นี่คือการล่องเรือชม “ทะเลบัวแดง” หรือ “ทะเลบัวสาย” พันธุ์บัวที่มีขึ้นอยู่มากที่สุด คือมาได้เฉพาะช่วงเช้าด้วยนะ เพราะบัวจะบานตอนเห็นแสงแรก ซึ่งบัวจะไม่เหี่ยว และดูเปล่งปลั่งเต็มท้องน้ำ ในบริเวณที่มีบัวชนิดนี้ขึ้นอยู่ ถือเป็นอีกหนึ่งสีสันความงามคู่ทะเลน้อยเลยล่ะ และใครมาไม่ทันช่วงเช้าก็ต้องแสดงความเสียใจด้วย เพราะช่วงสายบัวก็จะหุบแล้ว

ดอกบัวจะเริ่มบานตั้งแต่กลางเดือน ก.พ – เม.ย. ฉะนั้นช่วงที่เราไปเลยไม่เยอะเท่าที่ควร แนะนำให้มาช่วงที่บอกไปนะ สวยมาก จริง ๆ นอกจากนี้ระหว่างนั่งเรือชมดอกบัว ยังสามารถชมพืชพันธุ์น่าสนใจ อื่น ๆ อีกเพียบ รวมถึงนกกว่า 287 ชนิด มีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมาจากที่อื่น ตามฤดูกาล เช่น นกกาบบัว นกกุลา นกอีโก้ นกระยาง นกกระสานวล นกกระสาแดง นกกาเล็กน้ำ นกแขวก นกเป็ดน้ำ นกกระทุง นกนางนวล นกกระเด็น นกกระสาแดง ฯลฯ และช่วงพีคคือช่วงหน้าหนาวนี่แหละ เป็นแสนตัวเลย

3. แสงแรกที่ท่าเรือปากประ

Location: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ท่าเรือปากประเรียกได้ว่าเป็นท่าเรือยอดฮิตของพัทลุงเลยนะ เพราะคนที่มาที่นี่จะต้องเอารถมาจอดและล่องเรือหางยาวออกนอกทะเลอันกว้างใหญ่ไปกว่าสองชั่วโมงด้วยกัน ซึ่งตัวท่าเรือปากประเอง ก็มีชุมชน และที่พักหลายจุดให้เพื่อน ๆ ได้มาพักผ่อนกันที่นี่ และเป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยงามที่สุดของพัทลุง

โดยการล่องเรือเนี่ย เค้าจะพาเราไปชมวิธีชีวิตของคนที่นี่ หลายครั้งที่เพื่อน ๆ ได้เห็นอวนแหจับปลากลางทะเลน้อยแห่งนี้ ก็คืออยู่บริเวณท่าเรือปากประนี่แหละ เสียดายที่วันที่เราไปมีไฟป่าจากอินโดฯ ไหม้ไม่หยุด ทำให้ควันจากเหตุการณ์นี้ส่งผลให้ตัวภาคใต้ในหลายเขตส่วนถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควัน

นั่งเรือกันไปเรื่อย ๆ เราจะเห็นบางจุดที่ชาวบ้านเค้ามาปลูกข้าวกินกันด้วย นี่งงมาก ปลูกข้าวในทะเลได้ด้วยหรอ แต่เห้ย!! มันได้ว่ะ อาจจะเป็นช่วงที่โซนนี้มันปนน้ำจืดน้ำเค็มกัน เลยสามารถปลูกได้อยู่ คิดว่าช่วงที่ข้าวสุก จุดนี้น่าจะสวยงามไม่น้อย

ธรรมชาิตสองฝั่งทำให้เราเพลินจนบางขณะก็เผลอหลับไป เพราะตื่นกันเช้ามาก ๆ ไม่นานก็มาถึงพื้นที่ที่เป็นลานหญ้าสีเขียวขนาดใหญ่ที่มีฝูงนกนานาพันธุ์บินกันให้วุ่น จุดนี้เองปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ ไม่งั้นสัตว์หลากชนิดคงไม่มาวิ่งเล่นกันที่นี่แน่ ๆ

4. สะพานเอกชัย

Location: ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หากใครได้ไปทะเลน้อยมาแล้ว มองไปไกลหน่อย เราจะเห็นสะพานที่คิดว่าน่าจะยาวที่สุดในประเทศไทยแล้วล่ะ แต่เสียดาย ไม่สามารถบินมุมสูงเก็บภาพมาให้เพื่อน ๆ ได้ Drone พังหรอ เปล่า!! ลืมเอาเมมใส่มาด้วย แงงงงงง แต่ก็ไม่เป็นไร หากเพื่อน ๆ อยากเห็นภาพบรรยากาศ เราก็ได้ Live ไว้ที่เพจเราแล้ว สามารถตามไปดูได้ที่ลิ้งค์นี้เลย

โดยเจ้าสะพานแ่หงนี้ชื่อ “สะพานเอกชัย” เป็นส่วนหนึ่งของ ถนนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นสายทางที่สร้างตามแนวระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวงของทะเลสาบสงขลา ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างถนนลูกรังกันมาก่อน แต่มีปัญหาถนนพังชำรุดง่ายและเมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็ยังเป็นแนวขวางทางระบายน้ำระหว่างทะเลน้อยกับทะเลหลวง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สร้างสายทางตามโครงการภายใต้แผนบูรณาการงบประมาณพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

โดยให้กรมทางหลวงชนบทเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างถนนดังกล่าวเฉพาะส่วนที่จำเป็นเร่งด่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จำนวน 50 ล้านบาท และใช้งบประมาณจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2549 ในการดำเนินก่อสร้างต่อไปอีก 549 ล้านบาท โดยเส้นทางในช่วงที่ 2 เป็นทางยกระดับระยะทาง 5.450 กิโลเมตร นั้นเอง

5. ข้าวสังข์หยด

Location: หมู่ที่ 5 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจ มาที่นี่ทุกคนจะได้รู้จักคำว่า ” ข้าวสังข์หยด ” ครับ ข้าวสังข์หยดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจาง ๆ จนถึงสีแดงเข้ม ข้าวกล้องมีสีแดง เพราะมีแอนโทไซยานินอยู่ในเยื่อชั้นนอกของข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือเมื่อขัดสีบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่ลักษณะขุ่นขาว เมื่อหุงสุกจะนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่ เมื่อเย็นลงจะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเจ้าตัว ” ข้าวสังข์หยด ” นี่แหละ ที่เป็น Highlight ของที่นี่

เราจะได้เรียนรู้วิธีการและกระบวนการการทำข้าวสังข์หยดจากคุณลุงคุณป้า ได้เห็นถึงหลักโภชนาการของ Product ตัวนี้ ว่ามีคุณค่าทางโภชนาการมากแค่ไหน ซึ่งถือว่าข้าวสังข์หยดเนี่ย เป็นข้าวชื่อดังของจังหวัดพัทลุงเลยนะ เราได้ลองทาน ก็ต้องขอบอกว่า กรอบนอกนุ่มใน และหอมมันมาก ๆ

ซึ่งหากใครมาที่วิสาหกิจชุมชนอ่านช้างฯ แห่งนี้ อาจจะต้องอยู่นานหน่อย เพราะมีกิจกรรมให้ทำเยอะมาก เพราะนอกจากจะได้เรียนรู้วิธีการทำข้าวสังข์หยดแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ และของกินพื้นเมืองให้เราได้ลองสัมผัสกันด้วย

6. สานกระเป๋าจากใบกระจูด

Location: หมู่ที่ 5 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ต่อจากข้อสองเลยคือใครที่ชอบกิจกรรมทำเองรับรองว่าต้องชอบที่นี่ นอกจากที่นี่จะเป็นการรวมเอาหลักการของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาทำให้เป็นวัตถุดิบหลักของโครงการแล้ว ยังมีกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลมาสัมผัสกับประสบการณ์ต่าง ๆ ณ ที่แห่งนี้ด้ว่ย

มาที่นี่เพื่อน ๆ จะได้ลองสานกระเป๋าด้วยตัวเอง ที่ใช้วัตถุดิบจากใบกระจูด นำมาตกแห้ง จนสามารถนำมาทำกระเป๋าสานเพื่อใช้งานจริง ๆ ได้ ตัวกระเป๋าจะใช้วัตถุดิบจากใบกระจูด สวนสายสะพายเนี่ย จะทำจากหญ้าแฝกที่อาบแดดให้แห้งแล้ว บางใบ สามารถย้อมสีได้ด้วย

นั่งคุยกับคุณป้า ถามว่ากระเป๋าหนึ่งเป๋าอย่างที่เห็นในภาพ ใช้เวลากี่ชั่วโมงกว่าจะทำเสร็…ไม่ถึงจ้าาา!!! คุณป้าสวนกลับมาเหมือนตีลูกสแมชกลางสนามเทนนิสเข้ามากลางอกผม ปั๊ดโถ่!!! มันทำง่ายขนาดนี้เลยหรอป้า สรุปคือใบหนึ่ง ป้าใช้เวลาราว ๆ 30 นาทีเท่านั้น

เห็นแบบนี้เนี่ย ราคาไม่แพงเลยนะ ขายแค่ 100 บาททุกใบเท่านั้น และไม่ใช่แค่กระเป๋าสาน ยังมีผ้ามัดยอมสีธรรมชาติ ที่ทำมาจากดอกไม้ พ์ช และดินด้วย เพื่อน ๆ สามารถลองทำเองได้ ทำลายไหนก็ได้ เอาไปเป็นของฝากหรือใช้เองเลย

7. ทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ

Location: หมู่ที่ 5 ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

เรายังคงอยู่ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่าช้างฟื้นฟูเศรษฐกิจนะ เรียนรู้วิธีการทำข้าวสังข์หยดไปแล้ว สานกระเป๋าใบกระจูดไปแล้ว ก็มาถึงการทำผ้ามัดยอมกันบ้าง จะมีคุณป้ามาแนะนำวิธีการทำลาย คุณป้าบอกว่า พอย้อมเสร็จ ก็ต้องเอามาแช่น้ำปูนใสก่อน จากนั้นก็ล้าง ๆ แล้วก็เอาไปตากให้แห้ง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ… มันจะตกสีไหม ตกสิอิบ้า มันก็ต้องตกก่อนช่วงแรก แต่หลังจากนั้นคุณป้าคอมเฟิร์มเลยว่า ไม่ตกแน่นอน สงวนขายที่ผืนละ 100 บาท ราคาเดียว ทั้งปลีกทั้งส่ง

นอกจากนั้นก็จะมีอาหารพื้นบ้าน และขนมคนที ที่ทำจากพืชเศรษฐกิจให้เราได้ทานกัน จริง ๆ เราเองก็สามารถทดลองทำขนมเองได้ด้วยแหละ มาที่นี่ นอกจากจะได้มาเรียนรู้วิธีการแปรรูปข้าวแล้ว ก็ยังมีอีกหลายกิจกรรมให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำอย่างที่เราได้มาสัมผัสในครั้งนี้เลย หากมีโอกาส จุดนี้เองก็ควรทิ้งเวลาไว้เลยสักชั่วโมงสองชั่วโมงครับ

เอาจริง เคยเห็นผ้ามัดยอมขายตามถนนคนเดินบ่อยมาก แต่พอได้ลองมาทำเอง แล้วรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ เลย มันอาจไม่สวยสุด แต่มันโอเคที่เป็นสิ่งที่ทำมาจากฝีมือเรา ยังไงใครไปพัทลุงไม่อยากให้พลาดเลย กิจกรรมเหล่านี้

// photos is coming //

8. สาคูจากต้นสาคู

Location: 167 ม.13 ตำบล เกาะเต่า อำเภอ ป่าพะยอม พัทลุง 93210

สวนเกษตรทองคำ เป็นอีกหนึ่งจุดที่ผมชอบมาก ๆ คือมีโอกาสได้ไปกับคนโลคอล เราก็จะรู้อะไรเกี่ยวกับโลคอลเยอะครับ คิดว่าเพื่อน ๆ เคยทานสาคูน้ำกระทิกันมาบ้าง แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าเหล่านั้นทำมาจากแป้งที่ประดิษฐ์กันเอง ไม่ใช่จากต้นสาคูแท้

// photos is coming //

ซึ่งต้นสาคูแท้เนี่ย จะมีลักษณะเป็นไบมะพร้าว คือนี่ก็ไม่ได้ถ่ายภาพมา มัวแต่ทานอยู่ ทั้งต้นสาคู ทั้งสาคูน้ำกระทิ คือเอาเป็นว่า ไม่ได้ถ่ายภาพมาเลยจุดนี้ มัวแต่กินข้าว กับกินของหวาน ฮ่า ๆๆๆ

// photos is coming //

แต่ก็จะเล่าง่าย ๆ ว่า ต้นสาคูเนี่ย ใบมัน เค้าใช้เอาไปทำเป็นหลังคา ส่วนต้นมันเนี่ย พอเราตัดลำต้นออก ลำต้นจะมีแป้งอยู่ ซึ่งเค้าจะนำแป้งนั้นล่ะ มาขูดเอาแป้งเก็บไว้ และทำเป็นแป้งสาคูให้เราเอามาทานกัน ซึ่งก็ไม่ได้ทำได้แค่ขนามหวานอย่างเดียว ยังทำเมนูอื่นได้ด้วย

นอกจากนั้นที่นี่ก็ยังมีการคั่วลูกประกับเม็ดทราย ลูกประเนี่ยจะคล้าย ๆ อินทผาลัม แต่จะเรียวกว่า สามารถหาได้ตามเนินเขา รสชาติหวานมัน คือบ้านของคุณลุงทองคำต้องบอกเลยว่าเกษตรกรของจริง ทุกยอ่างอินทรรีย์หมด มีอากาศได้เดินรอบสวนแก คืออึ้งเลย เหมือนอยู่ในวิชาเกษตรสมัยอยู่ประถม สิ่งที่เรียนมาทุกอย่าง มีอยู่ที่นี่หมด เหมาะสำหรับเด็ก ๆ มาทัศนศึกษามาก ๆ

9. วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี

Location: ตำบล ชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง พัทลุง 93000

วนอุทยานเมืองเก่าชัยบุรี มีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะมาก หลัก ๆ จะเป็นการเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ ไหว้ศาลาหลักเมืองเอย ชมถ้ำน้ำ บ่อน้ำศักสิทธิ์ ในยอ ถ้ำพระ ป้อมปราการรูปดาว และอีกอื่น ๆ มากมาย

โดยตามหลักฐานที่ได้บันทึกเก็บไว้มาตั้งแต่อดีต ก็ระบุว่า เมืองพัทลุงเขาชัยบุรี จัดตั้งขึ้นเป็นเมืองสมบูรณ์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา หรือ เมื่อประมาณ พ.ศ.2223 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเมืองพัทลุงที่ตั้งอยู่ที่หัวเขาแดงของจังหวัดสงขลาในปัจจุบัน ถูกกรุงศรีอยุธยาปราบแล้วเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ.2185 เป็นเพราะว่า สุลต่าน สุลัยมาน เจ้าเมืองหัวเขาแดง ได้ประกาศตั้งตนเป็นอิสระ เรียกกันว่า รัฐสุลต่าน เมื่องพัทลุงเขาชัยบุรี ได้มีเจ้าเมืองปกครองจำนวน 9 คน โดยมี ฟาเพรีซี หรือ ตาเพชร น้องชายของ สุลต่าน สุลัยมาน เป็นเจ้าเมืองคนแรก

ปัจจุบันจังหวัดพัทลุง โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนตำบลชัยบุรี อ.เมือง จ.พัทลุง และหน่วยงานของป่าไม้ ได้ใช้งบประมาณพัฒนารอบๆ เขาเมือง ประกาศให้เขาเมืองเป็นวนอุทยาน ปรับปรุงบริเวณให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการกำหนดทางเดินป่าไปสู่จุดชมวิว ศึกษาธรรมชาติเขาหลักช้าง เดินจากพื้นที่ราบขึ้นสู่ยอดเขาสูงประมาณ 970 เมตร

นอกจากนี้ ชาวบ้านบริเวณเขาเมือง ยังได้สำรวจพบถ้ำน้ำขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า ทะเลภูเขา ที่มีน้ำขังภายในถ้ำตลอดทั้งปี เมื่อได้เข้าสำรวจพื้นที่อย่างละเอียดก็พบว่า ถ้ำน้ำเมืองเก่าชัยบุรี ตั้งอยู่กลางป่าเขาเมือง ต้องเดินเท้าปีนที่สูงจากพื้นที่ราบขึ้นไปบนยอดเขาประมาณ 200 เมตร ก็จะพบกับปากถ้ำที่เป็นช่องแคบ ๆ ภายในถ้ำไม่มีแสงสว่าง ต้องใช้ไฟส่องเข้าไปในถ้ำ ก็พบว่า ถ้ำน้ำเป็นถ้ำ 3 ชั้น ๆ แรก เป็นห้องโถงที่ไม่ใหญ่นัก ชั้นที่ 2 เป็นถ้ำน้ำที่กว้างลึก ผนังถ้ำและเพดานถ้ำจะมีลวดสายสวยงามแปลกตา ส่วนชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงอยู่เหนือน้ำ มีหินงอกหินย้อยสวยงามทั่วบริเวณ ซึ่งเราไม่มีเวลาไปสำรวจ เสียใจมาก

จริง ๆ เมืองเก่าชัยบุรี ถ้าจะเที่ยว คือต้องเที่ยวครึ่งวันเลย เพราะมีจุดหลายจุดที่ต้องเดิน และขึ้นเขา หากใครจะมาที่นี่ แนะนำให้พกแว่นกันแดด และทาครีมกันแดดมาด้วย เพราะแดดแรงมากแม่จ๋าาาาา….

10. วัดเขาอ้อ

Location: ตำบล มะกอกเหนือ อำเภอ ควนขนุน พัทลุง 93110

มีบันทึกชื่อสำนักเขาอ้อในหนังสือโบราณเล่มหนึ่งที่อยู่ในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยพาราณสีในประเทศอินเดีย ซึ่งในบันทึกมีใจความว่าแต่เดิมสำนักเขาอ้อเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ คือเป็นที่บำเพ็ญพรตของพราหมณ์ผู้ทรงวิทยาคุณทำหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เชื่อพระวงศ์ หรือวรรณะกษัตริย์ และลูกหลานผู้นำ เพราะพราหมณ์เป็นชนชั้นรักสงบมีธาตุแห่งความประนีประนอมสูง มีความคิดกว้างไกล เป็นชนชั้นนักการศึกษาชนชั้นแรกของโลกโดยนอกจากจะมีวิชาเกี่ยวกับการปกครองตามตำราธรรมศาสตร์แล้ว ยังมีเรื่องพิธีกรรม ฤกษ์ยาม การจัดทัพตามตำราพิชัยสงครามตลอดไปถึงไสยเวทย์ และการแพทย์

การสืบทอดวิชาในสำนักเขาอ้อได้ดำเนินมาจนกระทั่งถึงพราหมณ์รุ่นสุดท้ายท่านได้เล็งเห็นถึงสถานการณ์ว่าไม่สามารถที่จะต้านกระแสศรัทธาของศาสนาพุทธได้แน่แล้วจึงคิดหลอมสำนักเขาอ้อเข้ากับศาสนาพุทธและกลัวว่าจะไม่มีผู้ใดรับสืบทอดวิชา และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อซึ่งพราหมณ์ผู้บรรลุพระเวทย์หลายท่านได้ฝังร่างไว้ที่นี้ก็จะถูกปล่อยให้รกร้าง ประกอบกับขณะนั้นอิทธิพลทางพระพุทธศาสนาได้แผ่เข้ามาถึงตัวจังหวัดพัทลุงแล้ว จึงได้ตัดสินใจนิมนต์พระรูปหนึ่งมาจากวัดน้ำเลี้ยว วัดน้ำเลี้ยวปัจจุบันเป็นวัดร้างหมดสภาพความเป็นวัดแล้ว” มีนามว่า พระอาจารย์ทองให้มาอยู่ในถ้ำแทนและมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของบูรพาจารย์พราหมณ์พร้อมถ่ายทอดวิชาให้และมอบสำนักให้กลายเป็นที่พักสงฆ์จึงกลายมาเป็น “วัดเขาอ้อ”

แม้ว่าสำนักเขาอ้อจะกลายมาเป็นสำนักสงฆ์แล้ว แต่ก็ยังคงสืบทอดหน้าที่เป็นสำนักเผยแพร่ความรู้ให้แก่เยาวชนต่อมาอีกหลายร้อยปี แต่ว่าเมื่ออยู่ในความปกครองของพระภิกษุ บรรดาศิษย์ที่เข้าเรียนในสำนักนี้มีหลายชนชั้นไม่เหมือนกับสมัยพราหมณ์ปกครองอยู่เปิดโอกาสให้แก่เชื่อพระวงศ์ %B